วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

BUS 6012 สรุปเนื้อหาบทที่ 7 หุ้นกู้ (Bond, Depenture)

BUS 6012 การจัดการการเงิน
Financial Management

บทที่ 7  BOND, Depenture

บทที่ 7หุ้นกู้ (Bond, Depenture)  ออกโดยบริษัทมหาชน เพื่อระดมทุนมาขยายกิจการ โดยผลิตใบหุ้นออกขายให้นักลงทุน เพื่อหาผลประโยชน์ ผลตอบแทนในอนาคต ในบหุ้นจะมีรายละเอียดของ มูลค่าหุ้น อัตราดอกเบี้ย วันจ่ายดอกเบี้ย ดอกเบี้ย อายุใบหุ้น เช่น 5 ปี
A.)   บริษัท ออกขายหุ้นกู้ 5 แสน อายุ 3 ปี ดอกเบี้ย 5% โดยดอกเบี้ยในท้องตลาด = 5%
เมื่อดอกเบี้ยเท่ากัน ราคาขาย = ราคาตามมูลค่าหุ้นกู้
-             มูลค่าปัจจุบันของเงินต้น  (เปิดตาราง PVIF)
= PV * (PVIFi=5%, n=3)
ราคาตามมูลค่าหุ้นกู้  500,000 * 0.86384   (หรือ ใช้เครื่องคิดเลขธรรมดา โดยกด 1 หาร 1.05 กดเครื่อง = 3 ครั้ง)
               = 431,920
-             มูลค่าปัจจุบันของดอกเบี้ยหุ้นกู้ (เปิดตาราง PVIFA เพราะดอกเบี้ยมันเท่ากันทุกปี)
= 500,000 * 5% = 25,000
= 25,000*(PVIFAi=5%, n=3)
= 25,000*2.72320
= 68,080
(ถ้าจ่ายดอกเบี้ย ปีละ 2 ครั้ง  i=2.5 , n = 6)
มูลค่าปัจจุบัน PV (ราคาขาย) = 431,920 + 68,080 = 500,000 บาท  เท่ากับมูลค่าหุ้นกู้
B.)   Discount Bond : บริษัท ออกขายหุ้นกู้ 5 แสน อายุ 3 ปี ดอกเบี้ย 5% โดยดอกเบี้ยในท้องตลาด = 8%
-             มูลค่าปัจจุบันของเงินต้น  (เปิดตาราง PVIF)
= PV * (PVIFi=8, n=3)
ราคาตามมูลค่าหุ้นกู้  500,000 * 0.7938 (หรือ ใช้เครื่องคิดเลขธรรมดา โดยกด 1 หาร 1.08 กดเครื่อง = 3 ครั้ง)
               = 396,900
-             มูลค่าปัจจุบันของดอกเบี้ยหุ้นกู้ (เปิดตาราง PVIFA เพราะดอกเบี้ยมันเท่ากันทุกปี)
= 500,000 * 5% = 25,000
= 25,000*(PVIFAi=8%, n=3)
= 25,000*2.5771
= 64,427.50

มูลค่าปัจจุบัน PV (ราคาขาย) = 396,900+ 64,427.50= 461,327.50 บาท  ต่างจากมูลค่าหุ้นกู้  38,672.50 บาท  ขายได้น้อยกว่าราคาตามมูลค่าหุ้นกู้ เกิดส่วนลด
C.)   Premium Bond : บริษัท ออกขายหุ้นกู้ 5 แสน อายุ 3 ปี ดอกเบี้ย 5% โดยดอกเบี้ยในท้องตลาด = 2%
-             มูลค่าปัจจุบันของเงินต้น  (เปิดตาราง PVIF)
= PV * (PVIFi=2, n=3)
ราคาตามมูลค่าหุ้นกู้  500,000 * 0.9423 (หรือ ใช้เครื่องคิดเลขธรรมดาโดยกด 1 หาร 1.02 กดเครื่อง = 3 ครั้ง)
               = 471,150

-             มูลค่าปัจจุบันของดอกเบี้ยหุ้นกู้ (เปิดตาราง PVIFA เพราะดอกเบี้ยมันเท่ากันทุกปี)
= 500,000 * 5% = 25,000 (ดอกเบี้ยของพันธบัตรต่องวด)
= 25,000*(PVIFAi=2%, n=3)
= 25,000*2.8839
= 72,097.50
มูลค่าปัจจุบัน PV (ราคาขาย) = 471,150+ 72,097.50= 543,247.50 บาท  ต่างจากมูลค่าหุ้นกู้  43,247.50 บาท  ขายได้มากกว่าราคาตามมูลค่าหุ้นกู้ เกิดส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้
การคำนวณ อัตราผลตอบแทนจากพันธบัตร Yield to Maturity (YTM)
Yield to Maturity (YTM) คือ อัตราผลตอบแทนที่ได้รับถ้าถือพันธบัตรไว้จนครบกำหนด
ตัวอย่าง : หา YTM ของตราสารหนี้ประเภท 9% ซึ่งมีอายุ 10 ปี มูลค่าหน้าตั๋ว เท่ากับ 1,000 บาท ออกขายที่ราคา 1,134.20 บาท (Premium Bond)
วิธีทำ
สูตร PV
     = INT(PVIFAi%,n) + 1,000(PVIFi%,n)

กำหนดให้ :
PV   = 1,134.20
INT  = 90 (0.09 * 1000)  ดอกเบี้ยของพันธบัตรต่องวด
M     = 1000
N      = 10
ที่ k = 7%; VB = $1,140.42
1,134.20 = 90(PVIFA7%,10) + 1,000(PVIF7%,10)
= 90(7.0236) + 1,000(0.5083)
= 632.12 +508.3=1140.42
ที่ k = 8%; VB = $1,067.11
1,134.20 = 90(PVIFA8%,10) + 1,000(PVIF8%,10)
= 90(6.7101) + 1,000(0.4632)
= 603.91+463.2  = =1067.11
เทียบบัญญัติไตรยางค์ :
ที่ k = 7%; VB = 1,140.42
ที่ k = 8%; VB = 1,067.11
          1%      =      73.31

1140.42 – 1134.20 = ( 6.22 * 1 ) / 73.31 = 0.08
เทียบบัญญัติไตรยางค์ (ต่อ)
ตอบ kd     = 7.08% ( 7% + 0.08%)
ตัวอย่างจากหนังสือ (7-29) : พันธบัตรมูลค่าที่ตราไว้ 1,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 10% อายุ 10 ปี ราคาไถ่ถอน 1,100 บาท เมื่อออกจำหน่ายแล้ว 1 ปี อัตราดอกเบี้ยของตลาดลดลงเหลือ 5% ทำให้ราคาซื้อ/ขายพันธบัตรสูงขึ้นเป็น 1494.93 บาท ผู้ลงทุนที่ซื้อพันธ่บัตรในราคา 1,494.93 บาท ถือไว้ 9 ปี จนกว่าจะถูกไถ่ถอนคืน จะได้รับอัตราผลตอบแทนเท่าไหร่ (หา YTC)    วิธีทำ
1.     เรารู้ว่า YTM < Coupon Rate ( 10% ต่องวด) เนื่องจากเป็น Premium Bond (ขายราคา 1494.93 บาท มูลค่าสูงกว่าราคาหน้าตั๋ว ที่ตราไว้ 1,000 บาท )
2.     เราต้องการ YTM ที่ทำให้ราคามากกว่า 1494.93 และ YTM ที่ทำให้ราคาน้อยกว่า 1494.93 ( คือ หาช่วงของ YTM โดยวิธี Trial and Error
3.     1000 บาท ดอกเบี้ย 10%  ถ้า 1494.93 ส่วนต่าง มัน 494.93 คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของ 10% จะได้ 5% 
4.     จะทดลอง k ที่ 5% และ 4%
สูตร PV = INT(PVIFAi%,n) + 1,000(PVIFi%,n)

กำหนดให้ :
PV   = 1,494.93
INT  = 100 (0.10 * 1000)  ดอกเบี้ยของพันธบัตรต่องวด
M     = 1100
N     = 9
ที่ k = 5 %; VB = 1,419.84
1,494.93 = 90(PVIFA5%,9) + 1,100(PVIF5%,9)
= 100(7.1078) + 1,100(0.6446)
= 710.78 +709.06
=1419.84
ที่ k = 4%; VB = 1,516.39
1,494.93 = 100(PVIFA4%,9) + 1,100(PVIF4%,9)
= 100(7.4353) + 1,100(0.7026)
=  743.53 + 772.86
= 1,516.39
เทียบบัญญัติไตรยางค์ :
ที่ k = 4%; VB = 1,516.39
ที่ k = 5%; VB = 1,419.84
          1%      =      96.55
1516.39 – 1,494.93 = ( 21.46* 1 ) / 96.55 = 0.22
เทียบบัญญัติไตรยางค์ (ต่อ)

ตอบ kd     = 4.22% ( 4% + 0.22%)

หุ้นกู้ราคาฉบับละ 1,000 บาท (Par Value) อัตราดอกเบี้ย 8% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง หุ้นกู้นี้อายุ 20 ปี จึงครบกำหนดไถ่ถอน ราคาตลาดปัจจุบันของหุ้นกู้เท่ากับ 900บาท (PV) ถ้าผู้ลงทุนถือหุ้นกู้ไปจนครบกำหนดไถ่ถอนจะได้รับอัตราผลตอบแทนเท่าใด
PV = 900
INT   = 40 (0.08 * 1000)/2  ดอกเบี้ยของพันธบัตรต่องวด
M    = 1000
N   = 40 (2 * 20)
จะทดลอง k ที่ 5% และ 4%
a.     ลองใส่ 4% ในสมการ PV = 1000
b.     ลองใส่ 5% ในสมการ PV = 828.364
เทียบบัญญัติไตรยางค์ :
ที่ k = 4%; VB = 1,000
ที่ k = 5%; VB = 828.364
          1%      =      171.64
1000 – 900 = ( 100 * 1 ) / 73.31 = 0.5826
เทียบบัญญัติไตรยางค์ (ต่อ)

ตอบ kd     = 4.5826% ( 7% + 0.08%)

ถ้าโจทย์ต้องการคำตอบเป็นอัตราแบบต่อปีคิด ดอกเบี้ยทุกครึ่งปี (nominal rate or quoted rate) เราต้องน า YTM ที่หาได้ไปคูณด้วยสอง q .045826 x 2 = .09167 ต่อปี

ถ้าโจทย์ต้องการคำตอบเป็นอัตราผลตอบแทนที่ แท้จริงต่อปี (effective annual rate) q (1+ 0.045826) 2 – 1 = .0927 ต่อปี

Download : เอกสารสรุปบทที่7
Download เอกสาร เวอร์ชั่น Word Document ติดต่อที่ Line นะคะ