วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

BUS 6012 สรุปเนื้อหาบทที่ 7 หุ้นกู้ (Bond, Depenture)

BUS 6012 การจัดการการเงิน
Financial Management

บทที่ 7  BOND, Depenture

บทที่ 7หุ้นกู้ (Bond, Depenture)  ออกโดยบริษัทมหาชน เพื่อระดมทุนมาขยายกิจการ โดยผลิตใบหุ้นออกขายให้นักลงทุน เพื่อหาผลประโยชน์ ผลตอบแทนในอนาคต ในบหุ้นจะมีรายละเอียดของ มูลค่าหุ้น อัตราดอกเบี้ย วันจ่ายดอกเบี้ย ดอกเบี้ย อายุใบหุ้น เช่น 5 ปี
A.)   บริษัท ออกขายหุ้นกู้ 5 แสน อายุ 3 ปี ดอกเบี้ย 5% โดยดอกเบี้ยในท้องตลาด = 5%
เมื่อดอกเบี้ยเท่ากัน ราคาขาย = ราคาตามมูลค่าหุ้นกู้
-             มูลค่าปัจจุบันของเงินต้น  (เปิดตาราง PVIF)
= PV * (PVIFi=5%, n=3)
ราคาตามมูลค่าหุ้นกู้  500,000 * 0.86384   (หรือ ใช้เครื่องคิดเลขธรรมดา โดยกด 1 หาร 1.05 กดเครื่อง = 3 ครั้ง)
               = 431,920
-             มูลค่าปัจจุบันของดอกเบี้ยหุ้นกู้ (เปิดตาราง PVIFA เพราะดอกเบี้ยมันเท่ากันทุกปี)
= 500,000 * 5% = 25,000
= 25,000*(PVIFAi=5%, n=3)
= 25,000*2.72320
= 68,080
(ถ้าจ่ายดอกเบี้ย ปีละ 2 ครั้ง  i=2.5 , n = 6)
มูลค่าปัจจุบัน PV (ราคาขาย) = 431,920 + 68,080 = 500,000 บาท  เท่ากับมูลค่าหุ้นกู้
B.)   Discount Bond : บริษัท ออกขายหุ้นกู้ 5 แสน อายุ 3 ปี ดอกเบี้ย 5% โดยดอกเบี้ยในท้องตลาด = 8%
-             มูลค่าปัจจุบันของเงินต้น  (เปิดตาราง PVIF)
= PV * (PVIFi=8, n=3)
ราคาตามมูลค่าหุ้นกู้  500,000 * 0.7938 (หรือ ใช้เครื่องคิดเลขธรรมดา โดยกด 1 หาร 1.08 กดเครื่อง = 3 ครั้ง)
               = 396,900
-             มูลค่าปัจจุบันของดอกเบี้ยหุ้นกู้ (เปิดตาราง PVIFA เพราะดอกเบี้ยมันเท่ากันทุกปี)
= 500,000 * 5% = 25,000
= 25,000*(PVIFAi=8%, n=3)
= 25,000*2.5771
= 64,427.50

มูลค่าปัจจุบัน PV (ราคาขาย) = 396,900+ 64,427.50= 461,327.50 บาท  ต่างจากมูลค่าหุ้นกู้  38,672.50 บาท  ขายได้น้อยกว่าราคาตามมูลค่าหุ้นกู้ เกิดส่วนลด
C.)   Premium Bond : บริษัท ออกขายหุ้นกู้ 5 แสน อายุ 3 ปี ดอกเบี้ย 5% โดยดอกเบี้ยในท้องตลาด = 2%
-             มูลค่าปัจจุบันของเงินต้น  (เปิดตาราง PVIF)
= PV * (PVIFi=2, n=3)
ราคาตามมูลค่าหุ้นกู้  500,000 * 0.9423 (หรือ ใช้เครื่องคิดเลขธรรมดาโดยกด 1 หาร 1.02 กดเครื่อง = 3 ครั้ง)
               = 471,150

-             มูลค่าปัจจุบันของดอกเบี้ยหุ้นกู้ (เปิดตาราง PVIFA เพราะดอกเบี้ยมันเท่ากันทุกปี)
= 500,000 * 5% = 25,000 (ดอกเบี้ยของพันธบัตรต่องวด)
= 25,000*(PVIFAi=2%, n=3)
= 25,000*2.8839
= 72,097.50
มูลค่าปัจจุบัน PV (ราคาขาย) = 471,150+ 72,097.50= 543,247.50 บาท  ต่างจากมูลค่าหุ้นกู้  43,247.50 บาท  ขายได้มากกว่าราคาตามมูลค่าหุ้นกู้ เกิดส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้
การคำนวณ อัตราผลตอบแทนจากพันธบัตร Yield to Maturity (YTM)
Yield to Maturity (YTM) คือ อัตราผลตอบแทนที่ได้รับถ้าถือพันธบัตรไว้จนครบกำหนด
ตัวอย่าง : หา YTM ของตราสารหนี้ประเภท 9% ซึ่งมีอายุ 10 ปี มูลค่าหน้าตั๋ว เท่ากับ 1,000 บาท ออกขายที่ราคา 1,134.20 บาท (Premium Bond)
วิธีทำ
สูตร PV
     = INT(PVIFAi%,n) + 1,000(PVIFi%,n)

กำหนดให้ :
PV   = 1,134.20
INT  = 90 (0.09 * 1000)  ดอกเบี้ยของพันธบัตรต่องวด
M     = 1000
N      = 10
ที่ k = 7%; VB = $1,140.42
1,134.20 = 90(PVIFA7%,10) + 1,000(PVIF7%,10)
= 90(7.0236) + 1,000(0.5083)
= 632.12 +508.3=1140.42
ที่ k = 8%; VB = $1,067.11
1,134.20 = 90(PVIFA8%,10) + 1,000(PVIF8%,10)
= 90(6.7101) + 1,000(0.4632)
= 603.91+463.2  = =1067.11
เทียบบัญญัติไตรยางค์ :
ที่ k = 7%; VB = 1,140.42
ที่ k = 8%; VB = 1,067.11
          1%      =      73.31

1140.42 – 1134.20 = ( 6.22 * 1 ) / 73.31 = 0.08
เทียบบัญญัติไตรยางค์ (ต่อ)
ตอบ kd     = 7.08% ( 7% + 0.08%)
ตัวอย่างจากหนังสือ (7-29) : พันธบัตรมูลค่าที่ตราไว้ 1,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 10% อายุ 10 ปี ราคาไถ่ถอน 1,100 บาท เมื่อออกจำหน่ายแล้ว 1 ปี อัตราดอกเบี้ยของตลาดลดลงเหลือ 5% ทำให้ราคาซื้อ/ขายพันธบัตรสูงขึ้นเป็น 1494.93 บาท ผู้ลงทุนที่ซื้อพันธ่บัตรในราคา 1,494.93 บาท ถือไว้ 9 ปี จนกว่าจะถูกไถ่ถอนคืน จะได้รับอัตราผลตอบแทนเท่าไหร่ (หา YTC)    วิธีทำ
1.     เรารู้ว่า YTM < Coupon Rate ( 10% ต่องวด) เนื่องจากเป็น Premium Bond (ขายราคา 1494.93 บาท มูลค่าสูงกว่าราคาหน้าตั๋ว ที่ตราไว้ 1,000 บาท )
2.     เราต้องการ YTM ที่ทำให้ราคามากกว่า 1494.93 และ YTM ที่ทำให้ราคาน้อยกว่า 1494.93 ( คือ หาช่วงของ YTM โดยวิธี Trial and Error
3.     1000 บาท ดอกเบี้ย 10%  ถ้า 1494.93 ส่วนต่าง มัน 494.93 คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของ 10% จะได้ 5% 
4.     จะทดลอง k ที่ 5% และ 4%
สูตร PV = INT(PVIFAi%,n) + 1,000(PVIFi%,n)

กำหนดให้ :
PV   = 1,494.93
INT  = 100 (0.10 * 1000)  ดอกเบี้ยของพันธบัตรต่องวด
M     = 1100
N     = 9
ที่ k = 5 %; VB = 1,419.84
1,494.93 = 90(PVIFA5%,9) + 1,100(PVIF5%,9)
= 100(7.1078) + 1,100(0.6446)
= 710.78 +709.06
=1419.84
ที่ k = 4%; VB = 1,516.39
1,494.93 = 100(PVIFA4%,9) + 1,100(PVIF4%,9)
= 100(7.4353) + 1,100(0.7026)
=  743.53 + 772.86
= 1,516.39
เทียบบัญญัติไตรยางค์ :
ที่ k = 4%; VB = 1,516.39
ที่ k = 5%; VB = 1,419.84
          1%      =      96.55
1516.39 – 1,494.93 = ( 21.46* 1 ) / 96.55 = 0.22
เทียบบัญญัติไตรยางค์ (ต่อ)

ตอบ kd     = 4.22% ( 4% + 0.22%)

หุ้นกู้ราคาฉบับละ 1,000 บาท (Par Value) อัตราดอกเบี้ย 8% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง หุ้นกู้นี้อายุ 20 ปี จึงครบกำหนดไถ่ถอน ราคาตลาดปัจจุบันของหุ้นกู้เท่ากับ 900บาท (PV) ถ้าผู้ลงทุนถือหุ้นกู้ไปจนครบกำหนดไถ่ถอนจะได้รับอัตราผลตอบแทนเท่าใด
PV = 900
INT   = 40 (0.08 * 1000)/2  ดอกเบี้ยของพันธบัตรต่องวด
M    = 1000
N   = 40 (2 * 20)
จะทดลอง k ที่ 5% และ 4%
a.     ลองใส่ 4% ในสมการ PV = 1000
b.     ลองใส่ 5% ในสมการ PV = 828.364
เทียบบัญญัติไตรยางค์ :
ที่ k = 4%; VB = 1,000
ที่ k = 5%; VB = 828.364
          1%      =      171.64
1000 – 900 = ( 100 * 1 ) / 73.31 = 0.5826
เทียบบัญญัติไตรยางค์ (ต่อ)

ตอบ kd     = 4.5826% ( 7% + 0.08%)

ถ้าโจทย์ต้องการคำตอบเป็นอัตราแบบต่อปีคิด ดอกเบี้ยทุกครึ่งปี (nominal rate or quoted rate) เราต้องน า YTM ที่หาได้ไปคูณด้วยสอง q .045826 x 2 = .09167 ต่อปี

ถ้าโจทย์ต้องการคำตอบเป็นอัตราผลตอบแทนที่ แท้จริงต่อปี (effective annual rate) q (1+ 0.045826) 2 – 1 = .0927 ต่อปี

Download : เอกสารสรุปบทที่7
Download เอกสาร เวอร์ชั่น Word Document ติดต่อที่ Line นะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559

BUS 6011 - บทที่ 16 การบริหารการควบคุม (Managerial Control)

BUS 6011 การจัดการและพฤติกรรมองค์การ 

Management and Organizational Behavior

บทที่ 16 การบริหารการควบคุม (Managerial Control)  
บรรยายโดย อ.เสมอคิด สารธิมา

การควบคุม ประกอบด้วยกิจกรรมในการกำหนดมาตราฐานการปฏิบัติงาน การวัดผลการปฏิบัติงาน การประเมินผล และการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงาน  ทั้งนี้ การควบคุมหลัก ๆ ประกอบด้วย

1. การควบคุมแบบทางการ (Bureaucratic Control)  - ใช้กฏระเบียบ ข้อบังคับ วิธีการปฏิบัติและอำนาจหน้าที่

    อย่างเป็นทางการเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานหรือมาตราฐานที่กำหนดไว้ เช่น มาตราฐาน ISO 9001, ISO14001, HACCP, JCI เป็นต้น หรือนำมาใช้ในการควบคุมการปฏิบัติงาน เช่น การลงเวลาในการเข้า ออก เป็นต้น 
     1.1 การควบคุมล่วงหน้า (Feedforeward Control) - ใช้ก่อนเริ่มทำงาน
           เช่น การฝึกอบรม การให้คำแนะนำ นโยบาย กฏระเบียบต่าง ๆ  การวางแผนการสอน อ.ต้องควบคุมมาตราฐานการเรียนการสอน, 
     1.2 การควบคุมขณะดำเนินงาน (Concurrent Control)  - ใช้ขณะดำเนินการมีระบบ
           ศูนย์กลางในการควบคุมทั้งระบบ
           เช่น กาารประเมินผลการทำงาน,การควบคุมอุหภูมิในห้องปลอดเชื้อของโรงพยาบาล ห้อง ICU , การควบคุมอุณหภูมิของเครื่องจักรในโรงงาน ฯลฯ
     1.3 การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback Control) - การให้ข้อมูลที่ได้รับจากการติดตาม
           ประเมินผลกับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับมาตราฐาานที่กำหนดไว้

2. การควบคุมตลาด (Marketing Control) 
    - เกี่ยวข้องกับแรงกดดันทางเศรษฐกิจและบริษัทใช้ราคาเป็นกลไกในการควบคุม
    - ราคา เป็นตัวชี้วัดมูลค่่าของสินค้าและบริการ
     2.1 การควบคุมทางการตลาด - ระดับองค์กร
           - ใช้ควบคุมหน่วยธุรกิจที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กำไรที่เกิดจาการแข่งขัน
           - ใช้กำไร - ขาดทุน ในการประเมินผลการดำเนินงาน
     2.2 การควบคุมทางการตลาด - ระดับหน่วยธุรกิจ
           - ควบคุมโดยการแลกเปลี่ยนระหว่างแผนกและหน้าที่ในการปฏิบัติงาน
           - ต้นทุนขายส่ง (Transfer Price) - เป็นต้นทุนขายส่งสินค้าและบริการที่หน่วยธุรกิจขายให้กับหน่วยธุรกิจอื่นในบริษัทเดียวกัน 
           - ต้นทุนขายส่งจะส่งผลทางด้านราคาต่ออีกหน่วยธุรกิจหนึ่งในการชำระเงินค่าสินค้าและบริการในราคาตลาด 
           - การจัดหาทรัพยากรจากหุ้นส่วนหรือพันธมิตรทางธุรกิจจะทำให้ต้นทุนของสินค้าและบริการลดลง
     2.3 การควบคุมทางการตลาด - ระดับบุคคล
           - ตัวชี้วัดที่ดีทีสุดในการกำหนดศักยภาพของบุคคลในกาทำงานจะใช้อัตราของราคาตลาดเป็นตัวกำหนด
           - สร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานในการเพิ่มทักษะและโอกาสทางธุรกิจให้กับตัวเอง
           - สร้างแผนระยะสั้นในเรื่องของเงินเดือนรวมถึงโบนัส ในกรณีที่สามารถทำกำไรได้ตามเป้าหมาย
           - สร้างแรงจูงใจระยะยาวโดยให้หุ้ยเพื่อเพิ่มความเป็นเจ้าของในธุรกิจ
3. การควบคุมแบบกลุ่ม (Clan Control)
    3.1 การมอบอำนาจในการตัดสินใจ
    3.2 ใช้วัฒนธรรมองค์กร ในการสร้างกรอบพฤติกรรมของพนักงาน เช่น การแต่ง Uniform, การทำงานเป็นทีมเวิร์ค, การมีหัวใจบริการ ฯลฯ


BUS 6011 - บทที่ 12 ภาวะผู้นำ (Leadership)

BUS 6011 การจัดการและพฤติกรรมองค์การ 

Management and Organizational Behavior

บทที่ 12 ภาวะผู้นำ (Leadership)   
บรรยาย โดย อ.ผุดผ่อง

ภาวะผู้นำ (Leadership)  หมายถึง  ความสามารถที่ในการอิทธิพลเหนือผู้อื่นและจูงใจให้ผู้อื่นปฏิบัติตามและทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ  ภาวะผู้นำเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจหน้าที่ที่จะกำหนดหรือชักจูงให้กลุ่มสมาชิกในองค์การทำงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้  และการมีอิทธิพลต่อกลุ่มต่างๆในองค์การ

               
ผู้นำ(Leader) หมายถึง  บุคคลที่มีอำนาจ หรือ ความสามารถในการจูงใจคนให้ปฏิิบัติงานที่จะทำให้องค์การดำเนินไปอย่างก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมาย 

ทฤษฎีเกี่ยวกับผู้นำ
1).) ทฤษฎีบุคลิกภาพ มีหลักการดังนี้
    1.1 ผู้นำที่ประสบความสำเร็จ : มีความซื้อสัตย์ กล้าหาญ ยุติธรรม มีความรอบรู้ มีความสามารถในการรับรู้และสามารถมอบหมายงานให้ผู้อื่นทำ  มอบหมายงานเป็น
    1.2 ผู้นำที่ไม่ประสบผลสำเร็จ : มีลักษณะตรงข้ามกับผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ไม่มีหลักที่จะแยกลักษณะได้อย่างแท้จริง
                                       
2.) ทฤษฎีแบบฉบับ  นำมาใช้แทน ทฤษฎีบุคลิกภาพ  จะพิจาณาจากการกระทำ หรือ พฤติกรรมของผู้นำในการตอบสนองต่อความต้องการของสถานการณ์ แบ่งเป็น 5 ลักษณะ
    2.1 ผู้นำแบบเผด็จการทรราชย์ : มีลักษณะ เคร่งครัด ถือยศ เห็นแก่ตัว ยึดข้อสมมุติฐานเกี่ยวกับคนตามทฤษฎี X คือ มีการลงโทษ ชอบการบังคับ ข่มขู่ และการควบคุมการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด  ผู้นำจะตัดสินใจเอง การติดต่อสื่อสารจะเป็นแบบแนวดิ่ง จากบนลงล่าง
          - ทำให้สมาชิกในกลุ่มขาดความสามัคคี เอาตัวรอด เห็นแก่ตัวและก้าวร้าว 
    2.2 ผู้นำแบบเผด็จการอย่างมีศิลป์ ผู้นำเป็นผู้ตัดสินใจ แต่ยังเห็นความสำคัญของผู้ตาม โดยให้แสดงความคิดเห็นและร้องเรียนได้ 
          - ความสัมพันธ์ระหว่างระดับในองค์กรเป็นไปอย่างเป็นทางการ และสนับสนุนให้มีการสื่อสารในแนวตั้ง (จากล่างขึ้นบน) แต่การที่ผู้นำตัดสินปัญหาต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ทำให้ผู้ตามขาดความคิดริเริ่ม และขาดความรับผิดชอบใงานที่ได้รับมอบหมาย
    2.3 ผู้นำแบบปรึกษาหารือ เป็นผู้นำที่มีเหตุผล รับฟังความคิดเห็น และเปิดโอกาสให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ แต่ให้ความสำคัญกับผู้ที่อยู่ในระดับสูงมากกว่า การติดต่อสื่อสารเป็นแบบ 2 ทาง คือ จากบนลงล่าง และ จากล่างขึ้นบน 
    2.4 ผู้นำแบบมี่ส่วนร่วม มีเหตุล ยึดข้อสมมติฐานเกี่ยวกับคนตามทฤษฎี Y เปิดโอกาสให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่า ๆ ในการแก้ไขปัญหาและร่วมกำหนดเป้าหมาย 
          - ทำให้ลูกน้องกระตือรือร้น อิสระ มีความมั่นคง และรับผิดชอบงานดี  
          - การติดต่อสื่อสาร เป็นแบบทุกทิศทุกทาง พนักงานติดต่อสื่อสารกันได้อย่างเสรี 
    2.5 ผู้นำแบบเสรีนิยม ให้อิสระและไม่สนใจลูกน้อง พูดคุยและร่วมงานกับลูกน้องน้อย จะแสดงตนเมื่องานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จ แต่ถ้ามีปัญหาจะโทษว่าเป็นความผิดของลูกน้อง


ตารางสรุป ทฤษฎีแบบฉบับ ; 


ทฤษฎีแบบฉบับ
2.1 ผู้นำแบบเผด็จการทรราชย์
2.2 ผู้นำแบบเผด็จการอย่างมีศิลป์
2.3 ผู้นำแบบปรึกษาหารือ
2.4 ผู้นำแบบมี่ส่วนร่วม
2.5 ผู้นำแบบเสรีนิยม
ลักษณะ
เคร่งครัด ถือยศ เห็นแก่ตัว ยึดข้อสมมุติฐานเกี่ยวกับคนตามทฤษฎี X คือ มีการลงโทษ ชอบการบังคับ ข่มขู่ และการควบคุมการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด 

เป็นผู้นำที่มีเหตุผล รับฟังความคิดเห็น
มีเหตุผล ยึดข้อสมมติฐานเกี่ยวกับคนตามทฤษฎี Y
ให้อิสระและไม่สนใจลูกน้อง พูดคุยและร่วมงานกับลูกน้องน้อย จะแสดงตนเมื่องานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จ แต่ถ้ามีปัญหาจะโทษว่าเป็นความผิดของลูกน้อง
การตัดสินใจ
ผู้นำตัดสินใจเอง
ผู้นำตัดสินใจเอง แต่ลูกน้องออกความเห็นได้
เปิดโอกาสให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  แต่ให้ความสำคัญกับผู้ที่อยู่ในระดับสูงมากกว่า
ให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่า ๆ ในการแก้ไขปัญหาและร่วมกำหนดเป้าหมาย 
ให้อิสระแก่ลูกน้องในการตัดสินใจ
การติดต่อสื่อสาร
แนวดิ่ง (จากบนลงล่าง)
แนวตั้ง (จากล่างขึ้นบน)
เป็นแบบ 2 ทาง คือ จากบนลงล่าง และ จากล่างขึ้นบน 
เป็นแบบทุกทิศทุกทาง พนักงานติดต่อสื่อสารกันได้อย่างเสรี 

ผล
ทำให้สมาชิกในกลุ่มขาดความสามัคคี เอาตัวรอด เห็นแก่ตัวและก้าวร้าว 
ความสัมพันธ์ระหว่างระดับในองค์กรเป็นไปอย่างเป็นทางการ
ลูกน้อง ขาดความคิดริเริ่ม และขาดความรับผิดชอบใงานที่ได้รับมอบหมาย

ทำให้ลูกน้องกระตือรือร้น อิสระ มีความมั่นคง และรับผิดชอบงานดี  
- ลูกน้องมีความกังวลใจสูง
- ขาดความมั่นคง
- ผลงานมีคุณภาพต่ำ


พฤติกรรมของผู้นำตามแบบฉบับมี 2 ลักษณะ
1. ผู้นำที่มุ่งงาน : 
    - ระเบียบวิธีการปฏิบัติ และวิธีการสื่อสาร มุ่งความสำเร็จตามเป้าหมาย
    - เน้นทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย โดยเน้นความสัมพันธ์ของหัวหน้าและลูกน้อง
    - เหมาะกับงานที่ต้องอาศัยการตัดสินใจ งานที่วัดผลผลิตได้แน่นอน
    - ผู้นำจะขาดมนุษย์สัมพันธ์ ทำให้มีปัญหาการปกครองคนและเกิดความขัดแย้งได้
2. ผู้นำที่มุ่่งความสัมพันธ์ :
    - เน้นความต้องการของคน
    - เคารพความคิดเห็นและความรู้สึกของลูกน้อง
    - หัวหน้ากับลูกน้องมีความเข้าใจกัน และมีความอบอุ่น
    - ทำให้เกิดความจงรักภักดี
    - สามารถนำกลุ่มให้ไปถึงเป้าหมายได้
    - เหมาะกับงานที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์

3.) ทฤษฎีแนวทางและเป้าหมาย คล้ายทฤษฎีตามแบบฉบับแต่ปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น คือ
    แนวทาง เปรียบเสมือนกลไกหรือสิ่งชักจูงที่ผู้นำใช้กับลูกน้อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย(มุ่งงาน)
    รางวัลหรือผลตอบแทนของการจูงใจ เป็นส่วนที่สร้างความพึงพอใจให้กับสมาชิก (มุ่งความสัมพันธ์)

4.) ทฤษฎีตามสถานการณ์  
          ทฤษฎีนี้แบบของการบริหารที่เหมาะสมจะขึ้นกับลูกน้อง เพราะว่า หัวหน้าเป็นผู้สั่งการ ประสานงานและติดตามดูแลลูกน้องให้ดำเนินการ
          ในการทำงานจะเจอปัญหาความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เช่น โครงสร้างงานเทคโนโลยี สภาพแวดล้อม ที่สำคัญคือบุคลิกภาพของลูกน้อง ทำให้ไม่สามารถเอาทฤษฎีแบบฉบับมาใช้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทุกสถานการณ์ไป

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

BUS 6011 - บทที่ 8 การกำหนดรูปแบบและโครงสร้างองค์กร (Organization Structure)

BUS 6011 การจัดการและพฤติกรรมองค์การ 

Management and Organizational Behavior

บทที่ 8 การกำหนดรูปแบบและโครงสร้างองค์กร (Organization Structure)
บรรยาย โดย อ.ผุดผ่อง

การจัดการองค์การ (Organizing) คือ กระบวนการในการจัดโครงสร้างขององค์การ การกำหนดสายการบังคับบัญชา  การแบ่งงานออกเป็นหน่วยงานตามลักษณะงาน  การจัดกลุ่มงาน การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน การมอบหมายงาน (Delegation)  การจัดสรรทรัพยากรให้กับหน่วยงาน  และ การประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กร 

แผนภูมิองค์การ (Organization Chart)  เป็นแผนภูมิที่แสดงโครงสร้างองค์การและ แสดงลำดับขั้นของการบังคัยบัญชาว่ามีสายการบังคับบัญชา
ประโยชน์ของแผนภูมิองค์การ
1. มีการแบ่งประเภทงานชัดเจน ทำให้เห็นลักษณะการจัดแผนงานในองค์กร 
2. มีการกำหนดตำแหน่งงานชัดเจน ทำให้พนักงานทราบว่าตนอยู่ ณ ตำแหน่งใด ทำหน้าที่อะไร
3. ทำให้ทราบสายการบังคับบัญชา และการติดต่อสื่อสาร 

โครงสร้างองค์กร (Organization Structure) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 

1. โครงสร้างองค์กรตามแนวดิ่ง (Vertical Structure) : มีลำดับขั้นการบังคับบัญชาที่ยาวมาก ทำให้การสั่งการล่าช้า ส่วนใหญ่ จะเป็นสายการบังคับบัญชาของระบบราชการและรัฐวิสาหกิจ จะพิจารณาจากหลักการดังนี้
    1.1 สายการบังคับบัญชา
    1.2 การมอบหมายอำนาจหน้าที่
    1.3 การรวมอำนาจและการกระจายอำนาจ
    1.4 ขนาดของการจัดการ
    1.5 เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการและฝ่ายให้คำปรึกษา 
    1.6 บรรษัทภิบาล เน้นการควบคุม ระเบียบ คำสั่ง ไม่โฆษณาชวนเชื่อ 

2. โครงสร้างองค์กรตามแนวนอน (Horizontal Structure) ประกอบด้วย
         ความรับผิดชอบในหน้าที่ชัดเจน พนักงานต้องได้รับการอบอรมสม่ำเสมอ โครงสร้างยืดหยุดเหมาะสมตามสภาพแวดล้อม (2.1 แบ่งตามหน้าที่  2.2 แบ่งตามแผนก  2.3 แบบเมททริกซ์)

2.1 "Value Chain" และ การจัดองค์การตามหน้าที่ (Functional Organization)


    
Value Chain คือ การวิเคราะห์ เพื่อทราบกิจกรรมต่าง ๆ ในองค์กร ทักษะของคนในอค์กร เพื่อ "จุดแข็ง"และ "จุดอ่อน" เพื่อจะได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น
กิจกรรมหลัก (Primary Activities)
    1. Inbound Logistic(IB) ได้แก่ ระบบการนำเข้า ระบบคลังสินค้า การควบคุมสินค้า การคืนสินค้า
    2. Operations(OP) ได้แก่ การผลิต กระบวนการผลิต การบรรจุหีบห่อ การบำรุงรักษา การทดสอบ
       และการควบคุมคุณภาพ
    3. Outbound Logistic(OB) ได้แก่ การกระจายสินค้า การับคำสั่งซื้อ การวางแผน การจัดส่งและการขนส่ง
    4. Marketing and Sales(M&S) ได้แก่ การตลาดและการขาย
    5. Service(S) ได้แก่ บริการต่าง ๆ เช่น การติดตั้ง การซ่อมแซม การอบรม

กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)
    1. Firm Infrastructure ได้แก่โครงสร้างการจัดการ การวางแผน ระบบงาน และการจัดการด้านคุณภาพ
    2. Human Resource Management  การจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ การสรรหา การคัดเลือก การประเมินผล การพัฒนา ระบบเงินเดือนค่าจ้าง และการพนักงานสัมพันธ์
    3. Technology Development การพัฒนาเทคโนโลยีในกิจกรรมต่าง ๆ ภายใน Value Chain
    4. Procurement การจัดซื้อวัตถุดิบ และสินทรัพย์

 ข้อดี
ข้อเสีย
2.1 การจัดองค์การตามหน้าที่ (Functional Organization)
1.  ประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale)
2. มีมาตราฐานการปฏิบัติงาน
3. พนักงานมีความชำนาญและเชี่ยวชาญเทคนิคการทำงาน
4. การตัดสินใจและการสื่อสารในสายการบังคับบัญชาทำได้ง่ายและชัดเจน


 1. พนักงานสนใจเฉพาะงานของตน ไม่มองภาพรวม เป็น Specialist มากกว่า Generalist
2. ไม่มีการพัฒนาความรู้งานอื่นๆ ในธุรกิจ
3. เกิดปัญหาการสื่อสารภายและการประสานงานภายในองค์กร 
2.2 การจัดองค์กรตามแผนก (Divisional Organization) 
แบ่งเป็น - การจัดแผนกตามผลิตภัณฑ์/สินค้า
1. การทำงานมีความรับผิดชอบชัดเจน
2. พนักงานได้รับการฝึกอบรม
3. โครงสร้างองค์กรมีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอน
1. มีความยุ่งยากในการประสานงานข้ามสายการผลิต
2. ผู้จัดการไม่ต้องใช้ความรู้ตามหน้าที่มากและมีต้นทุนสูง (เพราะต้องจ้างหลายแผนก)
2.2 การจัดองค์กรตามแผนก (Divisional Organization) 
แบ่งเป็น - การจัดแผนกตามลูกค้า/ภูมิศาสตร์
1. สามารถมุ่งเน้นตามความต้องการของลูกค้า
2. สามารถให้บริการที่ดีกว่าและเร็วกว่า
1. มีกิจกรรมกับลูกค้าหลายกลุ่มและตามภูมิศาสตรมีค่าใช้จ่ายสูง
2.3 การจัดองค์กรแบบเแมททริกซ์ (Matrix Organization) 

1. มีความยืดหยุ่นและการเปลี่ยนแปลงที่สูงกว่า
1. มีความขัดแย้งในสายการบังคับบัญชา
2. เกิดความสับสนกับผู้บังคับบัญชาเพราะว่ามี 2 คน 

2.2 การจัดองค์การเป็นแผนก (Divisional Organization) -  แบ่งเป็น  
              - การจัดแผนกตามผลิตภัณฑ์/สินค้า (Product Division)
              - การจัดแผนกตามลูกค้าและภูมิศาสตร์ (Customer and Geographic Division)
            
โครงสร้างแบบเมทริกซ์ (The Matrix structure)
เป็นการผสมผสานระหว่างองค์กรแบบหน้าที่และแบบแผนก
- มีความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาที่เหนือกว่าใน 2 สายงาน คือ สายการบังคับบัญชาประจำ กับสายการบังคั
   บัญชาโครงการ
- เพื่อต้องการทักษะการทำงานสูงสำหรับโครงการสำคัญ หรือต้องการแก้ไขปัญหาสำคัญขององค์กร