วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559

BUS 6011 - บทที่ 12 ภาวะผู้นำ (Leadership)

BUS 6011 การจัดการและพฤติกรรมองค์การ 

Management and Organizational Behavior

บทที่ 12 ภาวะผู้นำ (Leadership)   
บรรยาย โดย อ.ผุดผ่อง

ภาวะผู้นำ (Leadership)  หมายถึง  ความสามารถที่ในการอิทธิพลเหนือผู้อื่นและจูงใจให้ผู้อื่นปฏิบัติตามและทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ  ภาวะผู้นำเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจหน้าที่ที่จะกำหนดหรือชักจูงให้กลุ่มสมาชิกในองค์การทำงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้  และการมีอิทธิพลต่อกลุ่มต่างๆในองค์การ

               
ผู้นำ(Leader) หมายถึง  บุคคลที่มีอำนาจ หรือ ความสามารถในการจูงใจคนให้ปฏิิบัติงานที่จะทำให้องค์การดำเนินไปอย่างก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมาย 

ทฤษฎีเกี่ยวกับผู้นำ
1).) ทฤษฎีบุคลิกภาพ มีหลักการดังนี้
    1.1 ผู้นำที่ประสบความสำเร็จ : มีความซื้อสัตย์ กล้าหาญ ยุติธรรม มีความรอบรู้ มีความสามารถในการรับรู้และสามารถมอบหมายงานให้ผู้อื่นทำ  มอบหมายงานเป็น
    1.2 ผู้นำที่ไม่ประสบผลสำเร็จ : มีลักษณะตรงข้ามกับผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ไม่มีหลักที่จะแยกลักษณะได้อย่างแท้จริง
                                       
2.) ทฤษฎีแบบฉบับ  นำมาใช้แทน ทฤษฎีบุคลิกภาพ  จะพิจาณาจากการกระทำ หรือ พฤติกรรมของผู้นำในการตอบสนองต่อความต้องการของสถานการณ์ แบ่งเป็น 5 ลักษณะ
    2.1 ผู้นำแบบเผด็จการทรราชย์ : มีลักษณะ เคร่งครัด ถือยศ เห็นแก่ตัว ยึดข้อสมมุติฐานเกี่ยวกับคนตามทฤษฎี X คือ มีการลงโทษ ชอบการบังคับ ข่มขู่ และการควบคุมการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด  ผู้นำจะตัดสินใจเอง การติดต่อสื่อสารจะเป็นแบบแนวดิ่ง จากบนลงล่าง
          - ทำให้สมาชิกในกลุ่มขาดความสามัคคี เอาตัวรอด เห็นแก่ตัวและก้าวร้าว 
    2.2 ผู้นำแบบเผด็จการอย่างมีศิลป์ ผู้นำเป็นผู้ตัดสินใจ แต่ยังเห็นความสำคัญของผู้ตาม โดยให้แสดงความคิดเห็นและร้องเรียนได้ 
          - ความสัมพันธ์ระหว่างระดับในองค์กรเป็นไปอย่างเป็นทางการ และสนับสนุนให้มีการสื่อสารในแนวตั้ง (จากล่างขึ้นบน) แต่การที่ผู้นำตัดสินปัญหาต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ทำให้ผู้ตามขาดความคิดริเริ่ม และขาดความรับผิดชอบใงานที่ได้รับมอบหมาย
    2.3 ผู้นำแบบปรึกษาหารือ เป็นผู้นำที่มีเหตุผล รับฟังความคิดเห็น และเปิดโอกาสให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ แต่ให้ความสำคัญกับผู้ที่อยู่ในระดับสูงมากกว่า การติดต่อสื่อสารเป็นแบบ 2 ทาง คือ จากบนลงล่าง และ จากล่างขึ้นบน 
    2.4 ผู้นำแบบมี่ส่วนร่วม มีเหตุล ยึดข้อสมมติฐานเกี่ยวกับคนตามทฤษฎี Y เปิดโอกาสให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่า ๆ ในการแก้ไขปัญหาและร่วมกำหนดเป้าหมาย 
          - ทำให้ลูกน้องกระตือรือร้น อิสระ มีความมั่นคง และรับผิดชอบงานดี  
          - การติดต่อสื่อสาร เป็นแบบทุกทิศทุกทาง พนักงานติดต่อสื่อสารกันได้อย่างเสรี 
    2.5 ผู้นำแบบเสรีนิยม ให้อิสระและไม่สนใจลูกน้อง พูดคุยและร่วมงานกับลูกน้องน้อย จะแสดงตนเมื่องานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จ แต่ถ้ามีปัญหาจะโทษว่าเป็นความผิดของลูกน้อง


ตารางสรุป ทฤษฎีแบบฉบับ ; 


ทฤษฎีแบบฉบับ
2.1 ผู้นำแบบเผด็จการทรราชย์
2.2 ผู้นำแบบเผด็จการอย่างมีศิลป์
2.3 ผู้นำแบบปรึกษาหารือ
2.4 ผู้นำแบบมี่ส่วนร่วม
2.5 ผู้นำแบบเสรีนิยม
ลักษณะ
เคร่งครัด ถือยศ เห็นแก่ตัว ยึดข้อสมมุติฐานเกี่ยวกับคนตามทฤษฎี X คือ มีการลงโทษ ชอบการบังคับ ข่มขู่ และการควบคุมการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด 

เป็นผู้นำที่มีเหตุผล รับฟังความคิดเห็น
มีเหตุผล ยึดข้อสมมติฐานเกี่ยวกับคนตามทฤษฎี Y
ให้อิสระและไม่สนใจลูกน้อง พูดคุยและร่วมงานกับลูกน้องน้อย จะแสดงตนเมื่องานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จ แต่ถ้ามีปัญหาจะโทษว่าเป็นความผิดของลูกน้อง
การตัดสินใจ
ผู้นำตัดสินใจเอง
ผู้นำตัดสินใจเอง แต่ลูกน้องออกความเห็นได้
เปิดโอกาสให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  แต่ให้ความสำคัญกับผู้ที่อยู่ในระดับสูงมากกว่า
ให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่า ๆ ในการแก้ไขปัญหาและร่วมกำหนดเป้าหมาย 
ให้อิสระแก่ลูกน้องในการตัดสินใจ
การติดต่อสื่อสาร
แนวดิ่ง (จากบนลงล่าง)
แนวตั้ง (จากล่างขึ้นบน)
เป็นแบบ 2 ทาง คือ จากบนลงล่าง และ จากล่างขึ้นบน 
เป็นแบบทุกทิศทุกทาง พนักงานติดต่อสื่อสารกันได้อย่างเสรี 

ผล
ทำให้สมาชิกในกลุ่มขาดความสามัคคี เอาตัวรอด เห็นแก่ตัวและก้าวร้าว 
ความสัมพันธ์ระหว่างระดับในองค์กรเป็นไปอย่างเป็นทางการ
ลูกน้อง ขาดความคิดริเริ่ม และขาดความรับผิดชอบใงานที่ได้รับมอบหมาย

ทำให้ลูกน้องกระตือรือร้น อิสระ มีความมั่นคง และรับผิดชอบงานดี  
- ลูกน้องมีความกังวลใจสูง
- ขาดความมั่นคง
- ผลงานมีคุณภาพต่ำ


พฤติกรรมของผู้นำตามแบบฉบับมี 2 ลักษณะ
1. ผู้นำที่มุ่งงาน : 
    - ระเบียบวิธีการปฏิบัติ และวิธีการสื่อสาร มุ่งความสำเร็จตามเป้าหมาย
    - เน้นทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย โดยเน้นความสัมพันธ์ของหัวหน้าและลูกน้อง
    - เหมาะกับงานที่ต้องอาศัยการตัดสินใจ งานที่วัดผลผลิตได้แน่นอน
    - ผู้นำจะขาดมนุษย์สัมพันธ์ ทำให้มีปัญหาการปกครองคนและเกิดความขัดแย้งได้
2. ผู้นำที่มุ่่งความสัมพันธ์ :
    - เน้นความต้องการของคน
    - เคารพความคิดเห็นและความรู้สึกของลูกน้อง
    - หัวหน้ากับลูกน้องมีความเข้าใจกัน และมีความอบอุ่น
    - ทำให้เกิดความจงรักภักดี
    - สามารถนำกลุ่มให้ไปถึงเป้าหมายได้
    - เหมาะกับงานที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์

3.) ทฤษฎีแนวทางและเป้าหมาย คล้ายทฤษฎีตามแบบฉบับแต่ปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น คือ
    แนวทาง เปรียบเสมือนกลไกหรือสิ่งชักจูงที่ผู้นำใช้กับลูกน้อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย(มุ่งงาน)
    รางวัลหรือผลตอบแทนของการจูงใจ เป็นส่วนที่สร้างความพึงพอใจให้กับสมาชิก (มุ่งความสัมพันธ์)

4.) ทฤษฎีตามสถานการณ์  
          ทฤษฎีนี้แบบของการบริหารที่เหมาะสมจะขึ้นกับลูกน้อง เพราะว่า หัวหน้าเป็นผู้สั่งการ ประสานงานและติดตามดูแลลูกน้องให้ดำเนินการ
          ในการทำงานจะเจอปัญหาความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เช่น โครงสร้างงานเทคโนโลยี สภาพแวดล้อม ที่สำคัญคือบุคลิกภาพของลูกน้อง ทำให้ไม่สามารถเอาทฤษฎีแบบฉบับมาใช้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทุกสถานการณ์ไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น