วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

BUS 6011 - บทที่ 8 การกำหนดรูปแบบและโครงสร้างองค์กร (Organization Structure)

BUS 6011 การจัดการและพฤติกรรมองค์การ 

Management and Organizational Behavior

บทที่ 8 การกำหนดรูปแบบและโครงสร้างองค์กร (Organization Structure)
บรรยาย โดย อ.ผุดผ่อง

การจัดการองค์การ (Organizing) คือ กระบวนการในการจัดโครงสร้างขององค์การ การกำหนดสายการบังคับบัญชา  การแบ่งงานออกเป็นหน่วยงานตามลักษณะงาน  การจัดกลุ่มงาน การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน การมอบหมายงาน (Delegation)  การจัดสรรทรัพยากรให้กับหน่วยงาน  และ การประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กร 

แผนภูมิองค์การ (Organization Chart)  เป็นแผนภูมิที่แสดงโครงสร้างองค์การและ แสดงลำดับขั้นของการบังคัยบัญชาว่ามีสายการบังคับบัญชา
ประโยชน์ของแผนภูมิองค์การ
1. มีการแบ่งประเภทงานชัดเจน ทำให้เห็นลักษณะการจัดแผนงานในองค์กร 
2. มีการกำหนดตำแหน่งงานชัดเจน ทำให้พนักงานทราบว่าตนอยู่ ณ ตำแหน่งใด ทำหน้าที่อะไร
3. ทำให้ทราบสายการบังคับบัญชา และการติดต่อสื่อสาร 

โครงสร้างองค์กร (Organization Structure) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 

1. โครงสร้างองค์กรตามแนวดิ่ง (Vertical Structure) : มีลำดับขั้นการบังคับบัญชาที่ยาวมาก ทำให้การสั่งการล่าช้า ส่วนใหญ่ จะเป็นสายการบังคับบัญชาของระบบราชการและรัฐวิสาหกิจ จะพิจารณาจากหลักการดังนี้
    1.1 สายการบังคับบัญชา
    1.2 การมอบหมายอำนาจหน้าที่
    1.3 การรวมอำนาจและการกระจายอำนาจ
    1.4 ขนาดของการจัดการ
    1.5 เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการและฝ่ายให้คำปรึกษา 
    1.6 บรรษัทภิบาล เน้นการควบคุม ระเบียบ คำสั่ง ไม่โฆษณาชวนเชื่อ 

2. โครงสร้างองค์กรตามแนวนอน (Horizontal Structure) ประกอบด้วย
         ความรับผิดชอบในหน้าที่ชัดเจน พนักงานต้องได้รับการอบอรมสม่ำเสมอ โครงสร้างยืดหยุดเหมาะสมตามสภาพแวดล้อม (2.1 แบ่งตามหน้าที่  2.2 แบ่งตามแผนก  2.3 แบบเมททริกซ์)

2.1 "Value Chain" และ การจัดองค์การตามหน้าที่ (Functional Organization)


    
Value Chain คือ การวิเคราะห์ เพื่อทราบกิจกรรมต่าง ๆ ในองค์กร ทักษะของคนในอค์กร เพื่อ "จุดแข็ง"และ "จุดอ่อน" เพื่อจะได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น
กิจกรรมหลัก (Primary Activities)
    1. Inbound Logistic(IB) ได้แก่ ระบบการนำเข้า ระบบคลังสินค้า การควบคุมสินค้า การคืนสินค้า
    2. Operations(OP) ได้แก่ การผลิต กระบวนการผลิต การบรรจุหีบห่อ การบำรุงรักษา การทดสอบ
       และการควบคุมคุณภาพ
    3. Outbound Logistic(OB) ได้แก่ การกระจายสินค้า การับคำสั่งซื้อ การวางแผน การจัดส่งและการขนส่ง
    4. Marketing and Sales(M&S) ได้แก่ การตลาดและการขาย
    5. Service(S) ได้แก่ บริการต่าง ๆ เช่น การติดตั้ง การซ่อมแซม การอบรม

กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)
    1. Firm Infrastructure ได้แก่โครงสร้างการจัดการ การวางแผน ระบบงาน และการจัดการด้านคุณภาพ
    2. Human Resource Management  การจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ การสรรหา การคัดเลือก การประเมินผล การพัฒนา ระบบเงินเดือนค่าจ้าง และการพนักงานสัมพันธ์
    3. Technology Development การพัฒนาเทคโนโลยีในกิจกรรมต่าง ๆ ภายใน Value Chain
    4. Procurement การจัดซื้อวัตถุดิบ และสินทรัพย์

 ข้อดี
ข้อเสีย
2.1 การจัดองค์การตามหน้าที่ (Functional Organization)
1.  ประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale)
2. มีมาตราฐานการปฏิบัติงาน
3. พนักงานมีความชำนาญและเชี่ยวชาญเทคนิคการทำงาน
4. การตัดสินใจและการสื่อสารในสายการบังคับบัญชาทำได้ง่ายและชัดเจน


 1. พนักงานสนใจเฉพาะงานของตน ไม่มองภาพรวม เป็น Specialist มากกว่า Generalist
2. ไม่มีการพัฒนาความรู้งานอื่นๆ ในธุรกิจ
3. เกิดปัญหาการสื่อสารภายและการประสานงานภายในองค์กร 
2.2 การจัดองค์กรตามแผนก (Divisional Organization) 
แบ่งเป็น - การจัดแผนกตามผลิตภัณฑ์/สินค้า
1. การทำงานมีความรับผิดชอบชัดเจน
2. พนักงานได้รับการฝึกอบรม
3. โครงสร้างองค์กรมีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอน
1. มีความยุ่งยากในการประสานงานข้ามสายการผลิต
2. ผู้จัดการไม่ต้องใช้ความรู้ตามหน้าที่มากและมีต้นทุนสูง (เพราะต้องจ้างหลายแผนก)
2.2 การจัดองค์กรตามแผนก (Divisional Organization) 
แบ่งเป็น - การจัดแผนกตามลูกค้า/ภูมิศาสตร์
1. สามารถมุ่งเน้นตามความต้องการของลูกค้า
2. สามารถให้บริการที่ดีกว่าและเร็วกว่า
1. มีกิจกรรมกับลูกค้าหลายกลุ่มและตามภูมิศาสตรมีค่าใช้จ่ายสูง
2.3 การจัดองค์กรแบบเแมททริกซ์ (Matrix Organization) 

1. มีความยืดหยุ่นและการเปลี่ยนแปลงที่สูงกว่า
1. มีความขัดแย้งในสายการบังคับบัญชา
2. เกิดความสับสนกับผู้บังคับบัญชาเพราะว่ามี 2 คน 

2.2 การจัดองค์การเป็นแผนก (Divisional Organization) -  แบ่งเป็น  
              - การจัดแผนกตามผลิตภัณฑ์/สินค้า (Product Division)
              - การจัดแผนกตามลูกค้าและภูมิศาสตร์ (Customer and Geographic Division)
            
โครงสร้างแบบเมทริกซ์ (The Matrix structure)
เป็นการผสมผสานระหว่างองค์กรแบบหน้าที่และแบบแผนก
- มีความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาที่เหนือกว่าใน 2 สายงาน คือ สายการบังคับบัญชาประจำ กับสายการบังคั
   บัญชาโครงการ
- เพื่อต้องการทักษะการทำงานสูงสำหรับโครงการสำคัญ หรือต้องการแก้ไขปัญหาสำคัญขององค์กร






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น