วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

Bus 6011 - บทที่ 6 การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Management)

BUS 6011 การจัดการและพฤติกรรมองค์การ 

Management and Organizational Behavior

บทที่ 6 การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Management)
บรรยาย โดย อ.ผุดผ่อง

ธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business) หมายถึง ธุรกิจที่ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับประเทศอื่น เพื่อก่อให้เกิดโอกาสใหม่ ๆ สามารถเข้าถึงตลาดใหม่ เข้าถึงทรัพยากรที่แตกต่างกันออกไป ทำให้ได้รัรู้ข่าวสาร และความรู้ใหม่ ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์และเลือกกลยุทธ์เพื่อการแข่งขันทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ 

กลยุทธ์ในการแข่งขันระหว่างประเทศมี 4 วิธี 
1. International Model   บริหารโดยยึดบริษัทแม่เป็นหลัก ใช้ความสามารถหลักที่มีอยู่ขยายตลาดไปต่างประเทศ  เอาคนจากบริษัทแม่ไปทำงานที่ต่างประเทศ สินค้าและบริการจะไม่สามารถตอบสนองลูกค้าได้ทั้งหมด ไม่มีโอกาสเป็นผู้นำด้านต้นทุน
2. Multinational Model  บริหารโดยปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ มีต้นทุนการผลิตสูงเพราะมีการ Customize ความต้องการของลูกค้าแต่ละท้องถิ่น ไม่ทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด Economies of Scale
3. Global Model  บริหารโดยใช้มาตราฐานเดียว ขายทั่วโลก เน้น low cost เช่น สตาบัค ทำให้เกิด Economies of Scale
4. Transnational Model  (บริหารแบบ1+2รวมกัน) การผลิตส่วนประกอบสำคัญอยู่ในการกำกับดูแลของบริษัทแม่ ทำให้เกิด Economies of Scale และเคลื่อนเข้าสู่ประเทศที่ไปลงทุน และประกอบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปตามความต้องการของคนในประเทศนั้น ๆ 

การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ที่บริษัทข้ามชาติเลือกในการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศมีดังนี้
1. การส่งออก (Export)  การกระจายสินค้าไปยังประเทศต่าง ๆ ทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่มีต้นทุนค่ขนส่งสูลและมีอุปสรรคเกี่ยวกับอัตราภาษีศุลกากร
2. การให้ใบอนุญาติหรือสัมปททาน (Licensing) มีค่าใช้จ่ายในการขอใบอนุญาติ เป็นต้นทุนที่เริ่มต้นในการผลิตสินค้าหรือบริการ 
3. การใ้ห้สิทธิทางการค้า (Franchising) การให้สิทธิในการใช้ตรายี่ห้อ (Brand Name) เจ้าของสิทธิจะได้รับเงินก้อนหนึ่งและส่วนแบ่งกำไร ผู้ขอสิทธิืจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของผู้ให้สิทธิอย่างเคร่งครัด
4. การร่วมมทุน (Joint Venture) เป็นการทำข้อตกลงอย่างเป็นทางการกับบริษัทต่างประเทศ ใช้จุดแข็งของประเทศที่ไปร่วมทุน เช่น การติดต่อศุลกากร หุ้นส่วนในท้องถิ่นมีความรู้ในเรื่องเงื่อนไขต่าง ๆ ของธุรกิจ , การดำเนินธุรกิจต้องปฏิบัติตามกฏหายในประเทศนั้น ๆ มีความรับผิดชอบและความเสี่ยงร่วมกัน การเป็นหุ้นส่วนทำให้เสียอำนาจในการควบคุมธุรกิจ
5. การเป็นเจ้าของกิจการเอง (Wholly Owned Subsidiaries) ลงทุนเอง 100% มีความอิสระเพระาลงทุนเองทั้งหมด ทำให้ควบคุมการปฏิบัติงานและ การใช้เทคโนโลยีได้  แต่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการสูงและมีความรับผิดชอบในความเสี่ยง จากการปฏิบัติงานในต่างประเทศ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น